วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ธนาคารอิสลาม (I BANK)

แนวคิดในการจัดตั้งธนาคารอิสลามได้ริเริ่มขึ้นจากความต้องการของชาวมุสลิมโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมที่ดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม โดยในปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลจึงผลักดันให้ธนาคารอิสลามเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการสำหรับชาวไทยมุสลิมให้มีช่องทางทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามแต่ด้วยความตั้งใจของรัฐบาลที่จะให้ธนาคารอิสลามถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นเอกเทศและถูกต้องตามกฎหมายจึงได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง จัดเตรียมพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นำเสนอสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาผ่านออกมาเป็นกฎหมายและสำเร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 “ธนาคารอิสลามจัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 โดยมีสำนักงานใหญ่และสาขาแห่งแรกอยู่ที่คลองตัน จากนั้นก็เริ่มทยอยเปิดสาขาในกรุงเทพฯและพื้นที่ภาคใต้ จนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2548 ธนาคาอิสลามมีสาขารวมทั้งสิ้น 9 สาขา การดำเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามขยายอย่างต่อเนื่อง ต่อมาธนาคารได้ดำเนินการตามนโยบายการควบรวมกิจการของกระทรวงการคลัง โดยการซื้อกิจการบริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ของธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) และได้มีพิธีลงนามสัญญาโอนกิจการบริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ของธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 ส่งผลให้ธนาคารอิสลามมีสาขาเพิ่มขึ้นอีก 18 สาขา เป็น 27 สาขาและเพื่อรองรับปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากคลองตัน มาที่อาคาร คิวเฮ้าส์ อโศก ในเดือนสิงหาคม 2549 จากความมุ่งหวังของชาวไทยมุสลิมในระยะแรกของการดำเนินการของธนาคารอิสลาม ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป้าหมายชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ แต่ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลักซึ่งอิงกับระบดอกเบี้ย ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา ปัจจุบันธนาคารอิสลามมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง มีสาขา 38 แห่งครอบคลุมทุกภูมิภาค

ให้บริการประเภทสินเชื่อ ดังต่อไปนี้
-                    สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ( Home Loan)
-                    สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Leasing)

ลิงค์ http://www.ibank.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น